พญานาค กับคนไทยมีความเกี่ยวข้องกันมานานตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษ และอยู่ในชีวิตของคนไทยตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิตใจ เช่น การบูชา พญานาค เพื่อขออำนาจ โชคลาภ บารมี การนำรูปปั้นพญานาคไปประกอบเป็นงานสถาปัตยกรรม ดังเช่น การนำไปประดับวัดต่าง ๆ อาคารที่ประทับของกษัตริย์ เพราะมีความเชื่อว่า พญานาค ควรคู่กับสถาบันอันสูงส่ง เช่น บันไดทางขึ้นของพระธาตุดอยสุเทพจะมี พญานาค ทอดยาวอยู่สองข้างเราเรียกนาคที่ทอดตัวตรงบันไดว่า นาคสะดุ้ง หรือ ป้านลมหลังคาโบสถ์ที่เรียกกันว่า นาคลำยอง เป็นต้น และที่ทำให้ตำนาน พญานาค ได้รับความสนใจมากยิ่งขึ้น นั่นคือ ละครเรื่องนาคี ที่แสดงถึงเรื่องราวความรักระหว่าง พญานาค และมนุษย์
พญานาค หรือ นาค เป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ วาสนา เงินทอง โชคลาภ มีลักษณะคือ เป็นงูใหญ่มีหงอน มีความเชื่อว่า พญานาคสามารถให้คุณแก่ผู้ที่บูชาได้ และช่วยส่งเสริมชะตาชีวิต หนุนดวงของเรา หากใครบูชา สามารถช่วยสร้างอำนาจ บารมี โชคลาภเงินทอง แต่ผู้บูชาจำเป็นต้องอยู่ในศีลธรรม ถึงจะสัมฤทธิ์ผล และทำบุญทำทานเป็นประจำ เหตุผลเนื่องจาก พญานาค มีความเลื่อมใสในหลักคำสอนของพระพุทธเจ้าอย่างแท้จริง พญานาค เกิดได้ 4 แบบ คือ เกิดแล้วโตทันที (โอปปาติกะ) เกิดจากเหงื่อไคล สิ่งหมักหมมซึ่งส่วนใหญ่จะเป็น พญานาคสีดำ (สังเสทชะ) เกิดจากครรภ์ (ชลาพุชะ) เกิดจากไข่ (อัณฑชะ) ซึ่ง พญานาค ชั้นสูงจะเกิดแบบ โอปปาติกะ เป็นชนชั้นปกครองที่อยู่ของ พญานาค มีตั้งแต่ในแม่น้ำ หนอง คลอง บึง เมืองบาดาล ไปจนถึง สวรรค์ชั้นจาตุมหาราชิกา พญานาค อยู่ในการปกครองของ ท้าววิรูปักษ์ หนึ่งในสี่ของเทพผู้ปกครอง สวรรค์ชั้นที่หนึ่ง
พญานาค มีอิทธิฤทธิ์ สามารถแปลงกายได้ สามารถแปลงเป็นคนได้ ถึงแม้ว่า พญานาคจะเนรมิตกายเป็นอะไรก็ได้แต่ในสภาวะที่ พญานาค จะต้องปรากฏรูปลักษณ์เป็น พญานาค เช่นเดิมคือ ขณะเกิด ขณะลอกคราบ ขณะสมสู่กันกับ พญานาคกับ พญานาค ขณะนอนหลับโดยไม่มีสติ และตอนตาย
กำเนิดพญานาค
ครุฑ และ พญานาค นั้นร่วมบิดาคนเดียวกันคือ พระกัศยปะมุนีเทพบิดร แต่ต่างมารดา ครุฑ เป็นลูกของ นางวินตา ส่วน พญานาค เป็นลูกของ นางกัทรุ ซึ่งทั้งสองนางเป็นพี่น้องกันแต่ไม่ค่อยจะลงรอยกันนัก นางกัทรุ ได้ขอพรให้นางมีบุตรมากมาย ล้วนด้วยมีอิทธิฤทธิ์มาก นางจึงได้กำเนิดไข่ 1000 ฟอง และได้กลายเป็น พญานาค ส่วน นางวินตา นั้นขอพรให้มีบุตรแค่สองคน แต่ขอให้มีอิทธิฤทธิ์มากกว่า นางกัทรุ ทั้งหมด นางวินตา จึงได้คลอดไข่มาสองฟอง นางเฝ้ารอไข่ของนางถึง 500 ปี ก็ไม่มีทีท่าจะฟักเมื่อใด ด้วยความร้อนใจนางจึงทนรอไม่ไหว จึงทุบไข่ออกมาฟองหนึ่ง ปรากฏว่าเป็นเทพบุตรที่มีกายแค่ครึ่งท่อนบนชื่อ อรุณ อรุณเทพบุตรโกรธมารดาของตนที่ทำให้ตนออกจากไข่ก่อนกำหนดทำให้มีแค่ท่อนบน จึงสาปให้มารดาของตนเป็นทาสของ นางกัทรุ และให้บุตรคนที่สองของนางเป็นผู้ช่วยนางให้พ้นจากความเป็นทาส จากนั้น อรุณเทพบุตร จึงขึ้นไปเป็นสารถีให้กับพระอาทิตย์หรือ สุริยเทพ นางวินตาจึงไม่กล้าทุบไข่ฟองที่สองออกมาดู คงรอให้ถึงกำหนดที่บุตรคนที่สองซึ่งก็คือพญาครุฑออกมาจากไข่เอง
เมื่อแรกเกิด พญาครุฑ มีร่างกายขยายตัวออกใหญ่โตจนจรดฟ้า เวลาเมื่อกะพริบตาจะเหมือนฟ้าแลบ เวลาขยับปีกทีใด ขุนเขาก็จะตกใจหนีหายไปพร้อมพระพาย รัศมีที่พวยพุ่งออกจากกายมีลักษณะดั่งไฟไหม้ทั่วสี่ทิศ ในเวลาต่อมา นางกัทรุ และ นางวินตา ได้พนันกันถึงสีของม้าอุไฉศรพในเวลาที่เกิดการกวนเกษียรสมุทรและเป็นสมบัติของพระอินทร์ โดยพนันว่าใครแพ้ต้องเป็นทาสอีกฝ่ายห้าร้อยปี นางวินตา ทายว่าม้าสีขาวส่วน นางกัทรุทายว่าสีดำ ความจริงม้าเป็นสีขาวดังที่นางวินตาทาย แต่นางกัทรุใช้อุบายให้ พญานาค ลูกของตนแปลงเป็นขนสีดำไปแซมอยู่เต็มตัวม้า (บางตำนานว่าให้นาคพ่นพิษใส่ม้าจนเป็นสีดำ) นางวินตาไม่ทราบในอุบายเลยยอมแพ้ ต้องเป็นทาสของ นางกัทรุ วลากิดแค่ท่อนบนวกัน ถึงห้าร้อยปี
ภายหลังเมื่อครุฑได้ทราบสาเหตุที่ นางวินตา ต้องตกเป็นทาสและได้ทราบเงื่อนไขจากพวก พญานาค ว่าต้องไปเอาน้ำอมฤตให้ พญานาค เสียก่อนจึงจะให้ นางวินตา เป็นไทครุฑจึงบินไปสวรรค์ไปเอาน้ำอมฤตซึ่งอยู่กับพระจันทร์ แล้วคว้าพระจันทร์มาซ่อนไว้ใต้ปีก แต่ถูกพระอินทร์และทวยเทพติดตามมา และเกิดต่อสู้กันขึ้น ฝ่ายเทวดานั้นไม่อาจเอาชนะได้ โดยเมื่อพระอินทร์ใช้วัชระโจมตีครุฑนั้น ครุฑไม่ได้รับบาดเจ็บแม้แต่น้อย แต่ครุฑก็จำได้ว่าวัชระเป็นอาวุธที่พระอิศวรประทานให้แก่พระอินทร์ จึงสลัดขนของตนให้หล่นลงไปเส้นหนึ่งเพื่อแสดงความเคารพต่อวัชระและรักษาเกียรติของพระอินทร์ผู้เป็นหัวหน้าของเหล่าเทพ ด้านพระวิษณุหรือพระนารายณ์ก็ได้ออกมาขวางครุฑไว้และสู้รบ พญาครุฑ ด้วยเช่นกัน แต่ต่างฝ่ายต่างไม่อาจเอาชนะกันได้ ทั้งสองจึงทำความตกลงยุติศึกต่อกัน โดยพระวิษณุให้พรแก่ครุฑว่าจะให้ครุฑเป็นอมตะและให้อยู่ตำแหน่งสูงกว่าพระองค์ ส่วนครุฑก็ถวายสัญญาว่าจะเป็นพาหนะของพระวิษณุ และเป็นธงครุฑพ่าห์สำหรับปักอยู่บนรถศึกของพระวิษณุอันเป็นที่สูงกว่า เมื่อครุฑได้หม้อน้ำอมฤตนั้น พระอินทร์ได้ตามมาขอคืน ครุฑก็บอกว่าตนต้องรักษาสัตย์ที่จะนำไปให้นาคเพื่อไถ่มารดาให้พ้นจากการเป็นทาส และให้พระอินทร์ตามไปเอาคืนเอง ครุฑจึงเอาน้ำอมฤตไปให้นาคโดยวางไว้บนหญ้าคา (และว่าได้ทำน้ำอมฤตหยดบนหญ้าคา 2-3 หยด ด้วยเหตุนี้ หญ้าคาจึงถือเป็นสิ่งมงคลในทางศาสนาพราหมณ์)
ส่วน พญานาค เมื่อเห็นน้ำอมฤตก็ยินดี จึงยอมปล่อย นางวินตา แม่ของครุฑให้เป็นอิสระ ขณะพากันไปสรงน้ำชำระกายเพื่อจะมากินน้ำอมฤตนั่นเอง พระอินทร์ก็นำหม้อน้ำอมฤตกลับไป ทำให้ พญานาค ไม่ได้ดื่มน้ำอมฤต พวก พญานาค จึงเลียที่ใบหญ้าคาด้วยเชื่อว่าอาจมีหยดน้ำอมฤตหลงเหลืออยู่ ทำให้ใบหญ้าคาบาดกลางลิ้นเป็นทางยาวซึ่งเป็นความเชื่อว่าทำให้งูมีลิ้นสองแฉก ตั้งแต่นั้นครุฑกับนาคจึงเป็นศัตรูกันมาโดยตลอด และครุฑนั้นก็จะจับนาคกินเป็นอาหารเสมอ
ตระกูลของ พญานาค มีทั้งหมด 4 ตระกูลด้วยกัน
พญานาคสีทอง ตระกูลวิรูปักษ์
เป็นตระกูลที่ใหญ่ที่สุด ท่านวิรูปักโขนาคราช หรือท้าววิรูปักษ์ เทพนาคราชคู่พระทัยของท้าวสักกะเทวราชในสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้ทรงเป็นอริยบุคคลขั้นโสดาบัน เนื่องจากได้ฟังธรรมจากพระโคดมและทรงบำเพ็ญเพียร เมื่อท้าววิรูปักษ์องค์เดิมสิ้นอายุขัยแล้วท่านจึงได้รับโองการจากท้าวสักกะเทวราช ให้มาเป็นเจ้าแห่งโลกบาลทั้ง 4 และถือเป็นเจ้าแห่งทรัพย์ในบาดาลพิภพด้วย ท่านปกครองในทิศปัจจิม (ทิศตะวันตก) ในสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา
พญานาคสีเขียว ตระกูลเอราปถ
ถือเป็นพญานาค ชั้นสูง ส่วนใหญ่ถือกำเนิดแบบอัณฑชะ คือกำเนิดจากฟองไข่ เชื่อว่าอาศัยอยู่ในเมืองบาดาล ลึกลงไปจากใต้ดินถึง 1 โยชน์ หรือ 16 กิโลเมตร บางพวกอาศัยอยู่ในถ้ำ ลึกถึง 50 โยชน์ หรือ 800 กิโลเมตร เชื่อว่าเป็นพญานาคตระกูลที่พบได้มากที่สุดเป็น พญานาค ที่มีลักษณะโดดเด่น สวยงามไม่แพ้ตระกูลวิรูปักข์ มีลำตัวของ พญานาคสีเขียว เป็นเขียวแบบมรกต เกล็ดมรกตสีไพลมณีรัตนชาติ มีลักษณะออกไปทางงูใหญ่ มักขึ้นมาบนโลกมนุษย์บ่อยครั้ง จึงทำให้เกิดตำนานรักมากมายระหว่างพญานาคตระกูลเอราปถ หรือ พญานสีเขียว กับมนุษย์ แม้จะถือกำเนิดจากฟองไข่ แต่หากมีการบำเพ็ญเพียรบารมี จนมีอานุภาพแก่กล้า ก็สามารถถูกจัดให้เป็นพญานาคสีเขียว ที่เป็นชนชั้นปกครองได้เช่นเดียวกัน
พญานาคสีรุ้ง ตระกูลฉัพพะยาปุตตะ
ส่วนใหญ่ถือกำเนิดแบบชลาพุชะ คือกำเนิดจากครรภ์ มีถิ่นอาศัยที่นครบาดาล ใต้ดิน ในป่าลึก หรือบนภูเขา พญานาคสีรุ้ง จะเป็น พญานาค ที่มีลักษณะสวยงามมาก เนื่องจาก พญานาค ที่จัดอยู่ในตระกูลนี้มีหลายสีด้วยกัน กล่าวคือหากไม่ได้มีกายสีทอง สีเขียว หรือสีดำ ก็สามารถจัดอยู่ในตระกูลนี้ได้หมด และ พญานาค บางตนยังมีเกล็ดหลายสีในตัวเดียวกันอีกด้วย พญานาคตระกูลฉัพพะยาปุตตะ หรือ พญานาคสีรุ้ง ส่วนใหญ่จะมีกายสีเลื่อมรุ้งมรุลี สีโกเมนสุริยฉัตรปภัศร เป็นตระกูลที่พบได้น้อย และยังมีถิ่นที่อยู่ที่ลึกลับอีกด้วย

พญานาคสีดำ ตระกูลกัณหาโคตรมะ
ซึ่ง พญานาคสีดำ จัดอยู่ในตระกูล “กัณหาโคตมะ” หนึ่งในสี่ตระกูลใหญ่ของ พญานาค พญานาคสีดำ ส่วนใหญ่จะถือกำเนิดแบบ “สังเสทชะ” คือเกิดจากเหงื่อไคลและสิ่งหมักหมม แต่ พญานาคสีดำ อิทธิฤทธิ์ไม่ได้ด้อยหรือยิ่งหย่อนไปกว่าตระกูลอื่นๆ กายของพญานาคตระกูลกัณหาโคตรมะจะเป็นสีดำนิลกาฬมหิธร หรือ พญานาคสีดำ และยังมีความเชื่อว่า พญานาคสีดำ นี้มีความดุร้ายและตัวใหญ่ที่สุด ว่ากันว่าถ้าฝันเห็น พญานาคสีดำ หมายถึง จะมีเรื่องทะเลาะวิวาทกันของคนในบ้าน จะมีเรื่องติดขัดไม่ราบรื่นอันเนื่องมาจากคนรอบข้าง
ตำนาน พญานาค
ตำนานความเชื่อเรื่อง พญานาค มีความเก่าแก่มาก อาจจะเก่ากว่าพุทธศาสนาอีกด้วย โดยเรื่องราวของ พญานาค มีปรากฏขึ้นใน พระไตรปิฎก เล่มที่ ๔ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๔ มหาวรรค ภาค ๑ เรื่อง พญานาค แปลงกายเป็นมนุษย์มาขอบวช และอีกหนึ่งตำนานคือ พณามุจลินท์นาคราช หลังจากพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสรู้ธรรมพิเศษแล้ว ได้เสด็จไปตามเมืองต่าง ๆ เพื่อแสดงธรรมเทศนา และมีครั้งหนึ่งได้เสด็จออกจากร่มไม้อธุปปาลนิโครธ ไปยังร่มไม้จิกชื่อ “มุจลินท์” ทรงนั่งเสวยวิมุตติสุข อยู่ 7 วัน คราวเดียวกันนั้นมีฝนตก และลมหนาวตลอด 7 วัน ได้มีพญานาคชื่อ “มุจลินท์” พญานาคสีเทาฮินดู หรือ พญานาคสีดำ เข้ามาวงด้วยขด 7 รอบพร้อมกับแผ่พังพานปกพระผู้มีพระภาคเจ้า เพื่อจะป้องกันฝนตกและลมมิให้ถูกพระวรกายขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุธเจ้า หลังจากฝนหายแล้ว คลายขนดออก แปลงเพศเป็นบุรุษมายืนเฝ้าที่เบื้องพระพักตร์ ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้า ความเชื่อดังกล่าวทำให้ชาวพุทธสร้างพระพุทธรูปปางนาคปรก แต่มักจะสร้างแบบพระนั่งบนตัวพญานาค ซึ่งดูเหมือนว่าเอาพญานาคเป็นบัลลังก์ เพื่อให้เกิดความสง่างาม และทำให้คิดว่า พญานาค คือผู้คุ้มครองพระศาสดา และยังมีความเชื่ออีกว่า พญานาคเป็นสะพาน (สายรุ้ง) ที่เชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์ หรืออีกชื่อหนึ่งก็คือ โลกศักดิ์สิทธิ์ ความเชื่อที่ว่า พญานาค กับ รุ้ง เป็นอันเดียวกัน ก็คือสะพานเชื่อมโลกมนุษย์กับสวรรค์นั่นเอง
9 สถานที่บูชา พญานาคราช
- ศาลพญาอนันตนาคราชเจ้าวิสุทธิเทวา ตั้งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ตรงข้ามสถานีตำรวจภูธรสุวรรณภูมิ
- ศาลพญามุจลินท์นาคราช ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ใกล้ทางเข้า-ออกสนามบิน ด้านถนนบางนา-ตราด
- ศาลองค์นาคาธิบดี ศรีสุทโธ วิสุทธิเทวา ด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ ตรงข้ามไปรษณีย์สุวรรณภูมิ
- ศาลท้าววิรุปักเขมหานาคราชเจ้า หรือท้าววิรูปักษ์ ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้
- พญามุจลิมท์นาคราช วัดโพธิ์ทอง คลองลัดขี้เหล็กตัดกับคลองเจ้าคุณ ในแขวงบางมด เขตจอมทอง กรุงเทพมหานคร วัดโพธิทองตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2450 เดิมชื่อ วัดทุ่ง ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้สร้าง แต่สันนิษฐานว่าผู้สร้างคือตระกูลบุนนาค เพราะตระกูลนี้มีสวนและที่นาอยู่บริเวณนี้ และให้ชาวเขมรที่อพยพมาทำไร่ทำนาบริเวณคลองเจ้าคุณ ต่อมาคลองนี้เรียกว่า คลองเขมร ที่ตั้งวัดอยู่ปลายสุดของสวนและนาที่เขมรทำอยู่ เดิมอุโบสถทำด้วยไม้ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวัด แต่ไม่ปรากฏว่าสร้างอุโบสถเมื่อใด คาดว่าอุโบสถหลังนี้ได้ถูกยกเลิกไปหลังผูกพัทธสีมาอุโบสถหลังใหม่เมื่อปี พ.ศ. 2450 ต่อมาในปี พ.ศ. 2507 ได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น “วัดโพธิทอง” ด้วยเหตุผลที่ว่าบริเวณคลองบางปะแก้วมีวัดโพธิ์แก้วอยู่ทางต้นคลอง จึงตั้งชื่อ “วัดโพธิทอง” ควบคู่กันไป วัดได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2513[1] อุโบสถหลังใหม่สร้างแทนหลังเดิมเมื่อ พ.ศ. 2515 บูรณะซ่อมแซมเมื่อ พ.ศ. 2543 เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติโอกาสมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2555 ได้บูรณะอีกครั้ง ภายในอุโบสถประดิษฐานพระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หน้าตัก 60 นิ้ว มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสถาบันเพาะช่าง ยังมีภาพเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เช่น ภาพพระราชกรณียกิจ หอฉันของวัดมี 2 ชั้น
- ถ้ำนาคา อุทยานแห่งชาติภูลังกา “ถ้ำนาคา” ตั้งอยู่ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติภูลังกา อ.บึงโขงหลง จ.บึงกาฬ และอยู่ใกล้กับวัดถ้ำชัยมงคล การขึ้นไปเที่ยวถ้ำต้องเดินขึ้นบันไดสูงชันที่ทางอุทยานฯ จัดสร้างขึ้นไปกว่า 1,400 ขั้น ใช้เวลาเดินราว 1-1.30 ชั่วโมง เหตุที่ถ้ำแห่งนี้ได้ชื่อว่า “ถ้ำนาคา” หรือ “ถ้ำพญานาค” เนื่องจากมีของหินและผนังถ้ำดูคล้ายพญานาค ที่มีรูปทรงคล้ายพญานาค หรืองูขนาดใหญ่นอนขดตัว โดยมีส่วนสำคัญ ๆ ทั้งส่วนหัว ลำตัว และเกล็ดพญานาค (ตามจินตนาการและความเชื่อของชาวบ้าน)
- พญาศรีสัตตนาคราช แลนด์มาร์คแห่งใหม่ของ จ.นครพนม เป็นองค์ พญานาคสีทอง ที่ใหญ่ที่สุดของภาคอีสาน มีความสวยงาม โดดเด่น องค์พญาศรีสัตตนาคราช หล่อด้วยทองเหลือง มีน้ำหนักรวม 9,000 กก. เป็นรูปพญานาคขดหาง 7 เศียร ประดิษฐานบนแท่นฐานแปด เหลี่ยม กว้าง 6 เมตร ความสูงทั้งหมดรวมฐาน 15 เมตร สามารถพ่นน้ำได้ ตามที่ทราบกันว่าพี่น้องชาวไทย-ลาว มีความเชื่อผูกพัน อยู่กับองค์พญานาค เช่นเดียวกับความผูกพันในลำน้ำโขง
- ศาลปู่พญานาคใต้สะพานมิตรภาพแห่งที่ 2 สถานที่ประดิษฐานปู่พญาอนันตนาคราช ย่านาคน้อย สิ่งศักดิ์สิทธิ์ของจังหวัดมุกดาหาร
- พุทธอุทยานหลวงปู่สด จังหวัดปราจีนบุรี อุทยานที่สร้างขึ้นมาจากพื้นที่นาเก่ารกร้างของนายณรงค์ เพียรผักแว่น หรือช่างเอ๋ วัย 46 ปี อาชีพเป็นช่างปั้นงานศิลปะฝีมือดี โดยเริ่มแรกนั้นช่างเอ๋ได้นิมิตรเห็นหลวงปู่สดลอยอยู่กลางบึงน้ำขนาดใหญ่จึง ได้ริเริ่มทำตามนิมิตรของตน บูรณะที่นารกร้าง ให้กลายเป็นบึงน้ำขนาดใหญ่ และปั้นรูปปั้นหลวงปู่สดขนาดใหญ่ประดิษฐานอยู่ที่บึงน้ำนี้ และต่อมาได้นิมิตรอีกว่าได้พบเห็นพญานาค 4 ตน 4 ตระกูล พญานาคสีทอง พญานาคสีเขียว พญานาคสีรุ้ง พญานาคสีดำ อยู่ตรงบึงน้ำของหลวงปู่สดจึงเกิดเป็นปณิธานในการสร้างปั้นรูปพญานาคต่อมาในปัจจุบัน ซึ่งพญานาคมีทั้งหมดสี่ตน จึงตั้งชื่อที่นี่ว่า วังพญานาค 4 ตระกูล พญานาคสีทอง พญานาคสีเขียว พญานาคสีรุ้ง พญานาคสีดำ พุทธอุทยานหลวงปู่สด
บทสวดขันธปริตร
วิรูปักเขหิเมเมตตัง เมตตัง เอราปะเถหิเม
ฉัพยาปุตเตหิ เม เมตตัง เมตตัง กัณหาโคตะมะเกหิจะ
อะปาทะเกหิ เม เมตตัง เมตตัง ทิปาทะเกหิเม
จะตุปปะเทหิ เม เมตตัง เมตตัง พะหุปปะเทหิเม
มา มัง อะปาทะโก หิงสิ มามังหิงสิ ทิปาทะโก
มา มัง จะตุปปะโท หิงสิ มามังหิงสิ พะหุปปะโท
สัพเพ สัตตา สัพเพ ปาณา สัพเพภูตาจะเกวะลา
สัพเพ ภัทรานิ ปัสสันตุ มากิญจิ ปาปะมาคะมา
อัปปะมาโณ พุทโธ อัปปะมาโณ ธรรมโม อัปปะมาโณ สังโฆ
ปะมาณะ วันตานิ สิริงสะปานิ อะหิวิจฉิกา สะตะปะที อุณณานาภี
สะระพู มูสิกา กะตา เม รักขา กะตา เม ปะริตตา ปะฏิกกะมันตุ
ภูตานิโสหัง นะโม ภะคะวะโต นะโม สัตตันนัง สัมมาสัมพุทธานังติฯ
คำแปล
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับ พญานาค ทั้งหลาย ตระกูลวิรูปักข์ด้วย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับ พญานาค ทั้งหลาย ตระกูลเอราบถด้วย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับ พญานาค ทั้งหลาย ตระกูลฉัพยาบุตรด้วย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับ พญานาค ทั้งหลาย ตระกูลกัณหาโคตมกะด้วย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ทั้งหลายที่มี ๔ เท้าด้วย
ความเป็นมิตรของเรา จงมีกับสัตว์ที่มีเท้ามากด้วย
สัตว์ไม่มีเท้าอย่าเบียดเบียนเรา สัตว์ ๒ เท้าอย่าเบียดเบียนเรา
สัตว์ ๔ เท้า อย่าเบียดเบียนเรา สัตว์มากเท้าอย่าเบียดเบียนเรา
ขอสรรพสัตว์มีชีวิตทั้งหลายที่เกิดมาทั้งหมดจนสิ้นเชิงด้วย
จงเห็นซึ่งความเจริญทั้งหลายทั้งปวงเถิด
โทษลามกใด ๆอย่าได้มาถึงแล้วแก่สัตว์เหล่านั้น
พระพุทธเจ้า ทรงพระคุณไม่มีประมาณ
พระธรรม ทรงพระคุณไม่มีประมาณ
พระสงฆ์ ทรงพระคุณไม่มีประมาณ
สัตว์เลื้อยคลานทั้งหลาย คือ งู แมลงป่อง ตะขาบ
แมลงมุม ตุ๊กแก หนู เหล่านี้ล้วนมีประมาณ
ความรักษา อันเรากระทำแล้ว ความป้องกัน อันเรากระทำแล้ว
หมู่สัตว์ทั้งหลาย จงหลีกไปเสีย
เรานั้นกระทำการนอบน้อมแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าอยู่
ทำการนอบน้อมแด่สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทั้งหลาย ๗ พระองค์อยู่
:: สวดป้องกันสัตว์ร้าย อสรพิษทั้งหลายมิให้เข้ามาทำอันตราย เช่น งู แมลงป่อง ตะขาบ แมงมุม